Bring Your Own Devices (BYOD) ความเสี่ยง ความท้าทายสำหรับธุรกิจในปัจจุบัน
ปัจจุบันองค์กรต่างๆได้อนุญาตให้พนักงานสามารถนำโทรศัพท์มือถือ แทบเล็ต นำมาใช้ในการสื่อสาร หรือปฎิบัติงานระหว่าง คนในองค์กร หรือระหว่างองค์กร ที่เรียกว่า BYOD (Bring Your Own Devices) ด้วยเหตุผลที่ว่า มีความสะดวกรวดเร็วในการติดต่องานกับลูกค้า พกพาสะดวกสบาย เหมาะกับ lifestyle คนรุ่นใหม่ เว็บไซต์ Eweek เปิดเผยว่า โดยทั่วไปเจ้าหน้าที่ IT ระดับสูงในองค์กร ระบุว่าในแต่ละปีองค์กรต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายร้อยละ 42 % นำมาใช้ในการรักษาความปลอดภัยจากโทรศัพท์มือถือ หรือคิดเป็นเงินมากกว่า 250,000 เหรียญสหรัฐ
องค์กรส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95% ต้องเผชิญกับความท้าทายด้านความปลอดภัย และการสนับสนุนการนำอุปกรณ์หรือโทรศัพท์นำมาใช้ในองค์กร (BYOD) ซึ่งหมายถึงความจำเป็นในการแก้ปัญหาการรักษาความปลอดภัยที่แข็งเกร่งมากขึ้นสำหรับอุปกรร์ส่วนบุคคลที่เชื่อมโยงกับเครือข่ายขององค์กร
ผลสำรวจจากผู้เขี่ยวชาญ ด้าน IT มากกว่า 700 คนซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านรักษาความปลอดภัยด้านซอท์ฟแวร์ ได้ทำงานสำรวจในปีนี้ระบุว่าร้อยละ 82 % คาดว่าจำนวนตัวเลขงบประมาณที่ต้องนำมาใช้ในการรักษาความปลอดภัยในองค์กร จะเติบโตมากขี้นในปี 2015
ผู้เชี่ยวชาญด้าน IT ระบุว่า ความท้าทายที่พบบ่อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ 72% คือ องค์กรต้องเผชิญกับนโยบายด้านความปลอดภัย อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับ อุปกรณ์ส่วนบุคคล(BYOD) คือการรักษาความปลอดภัยข้อมูลขององค์กร (Securing Corporate Information )ตามมาด้วยร้อยละ 67 % คือการจัดการอุปกรณ์ส่วนบุคคลที่ประกอบไปด้วยข้อมูลองค์กร ส่วนบุคคลและการใช้งานที่ปะปนกันอยู่ในอุปกรณ์ ร้อยละ 59 % ระบุว่า การติดตาม การควบคุมการเข้าถึงข้อมุลขององค์กรและเครือข่ายส่วนตัว
การนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ในองค์กร(BYOD) เติบโตอย่างรวดเร็ว และนอกเหนือการรควบคุม ผู้บริหารจาก Global Marketing รายหนึ่งเปิดเผยกับ เวบไซต์ Eweek ว่า “องค์กรปัจจุบันต้องมีนโยบายอย่างชัดเจนในการนำอุปกรณ์สวนตัวมาใช้ในองค์กร โดยประเมินทางออกที่ดีที่สุดในการผสมผสานระหว่างการใช้อุปกรร์ส่วนตัวกับโครงสร้างพื้นฐานขององค์กร“
ระบบปฎิบัติการทีเสี่ยงที่สุดในตอนนี้คือ Android ซึ่งในปี 2013 พบว่ามีความเสี่ยงสูงสุดคือ ร้อยละ 49 % และในปี 2014 ตัวเลขเพิ่มสูงขึ้นถึง ร้อยละ 64% อย่างที่ทราบกันว่า Android เป็นระบบปฎิบัติการที่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยสูงที่สุด มีผู้นิยมใช้งานเป็นอันดับต้นๆ ถ้าเปรียบเทียบกับระบบอื่น ๆเช่น IOS ,Window Phones ,
นอกจากนี้เกือบทั้งหมดของผู้ตอบแบบสอบถาม หรือคิดเป็นร้อยละ 98 % แสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการรักษาความปลอดภัยในระบบมือถือและเป็นกังวลมากที่สุดเพราะถือเป็นอุปกรณ์ที่มีศักยภาพในการสูญหายและขโมยข้อมูลขององค์กร
สิ่งที่น่ากังวลยิ่งไปกว่านั้นคือ ผลการสำรวจพบว่า ร้อยละ 87% พนักงานในองค์กรส่วนใหญ่ไม่ใส่ใจผลกระทบด้านความเสี่ยงจากอุปกรณ์พกพาที่นำเข้ามาใช้ในองค์กร 2 ใน3 ผลสำรวจตอบกลับมาว่าพนักงานไม่สนใจข้อมูลสำคัญขององค์กร เช่น การรั่วใหลของประวัติลูกค้าจากมือถือ
และยังพบอีกว่าร้อยละ 91 % ในองค์กรจะมีพนักงานประมาทซึ่งเป็นจุดอ่อนที่สุดในธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญด้าน IT พบว่า ในสองปีที่ผ่านมา โทรศัพท์มือถือมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปีและเชื่อมต่อข้อมูลขององค์กรมากที่สุด
ในปี 2014 ร้อยละ 56 % สำรวจพบว่า พนักงานส่วนใหญ่เก็บข้อมูลลูกค้า ข้อมูลทางธุรกิจไว้ในมือถือ ผู้เชี่ยวชาญด้านไอทียังถูกถามว่าอุปกรณ์มือถือเช่นสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตได้รับอนุญาตให้เชื่อมต่อกับเครือข่ายขององค์กรหรือไม่
ผลสำรวจยังรายงานอีกว่า การนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ในองค์กรนิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยร้อยละ 95 % พนักงานเชื่อมต่ออุปกรณ์มือถือเข้ากับเครือข่ายองค์กร รวมถึงร้อยละ 74 ได้รับอนุญาตินำอุปกรณ์ส่วนตัวและจากองค์กรเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายองค์กร ร้อยละ 20 อนุญาตอุปกรณ์จากบริษัทเชื่อมต่อเครือข่ายองค์กร และร้อยละ 1 % เท่านั้นที่ทำงานด้วยอุปกรณ์ส่วนตัว
ผู้เชี่ยวชาญด้าน IT เปิดเผยว่า พวกเค้าคาดหวังว่า ตัวเลขผลสำรวจจะลดลงในการจัดการแก้ปัญหาความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กรจากการนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ ผู้เชี่ยวชาญยังกล่าวอีกว่า ร้อยละ 87 % ระบุว่านายจ้างเชื่อว่า พนักงานในองค์กรเป็นภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่กว่า แฮกเกอร์ ซึ่งเป็นผลที่น่าแปลกใจมากทีสุด ในปัจจุบันยังไม่มีทางออกที่แน่นอนที่จะลดปัญหาเหล่านี้ไปได้ แต่สิ่งที่องค์กรทำได้ตอนนี้คือ ทำให้พนักงานรู้สึกผ่อนคลายในการนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ในองค์กร หรือเชื่อมต่อกับเครือข่ายองค์กร โดยไม่มีความรู้สึกกดดันหรือรู้สึกว่าองค์กรกำลังจับผิด หรือทำให้ข้อมูลรั่วใหล
อย่างไรก็ตามการทำงานในปัจจุบันต้องให้ทันเทคโนโลยี โดยพนักงานที่มีความรู้ความสามารถจำเป็นต้องทำงานให้ทันกับอุปกรณ์เทคโนโลยีเพื่อให้การทำงานราบรื่นสะดวกขึ้น
แหล่งที่มา Eweek.com